|
|||||
ไฟรั่วน้ำท่วมถึงตาย เครื่องตรวจเช็คช่วยได้ปลอดภัยไว้ก่อน |
|||||
นพ.สราวุฒิ สนธิแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ ได้รับมอบเครื่องตรวจวัดกระแสไฟฟ้ารั่วในน้ำ “Flood Water Electric Shock Warning” จำนวน 10 เครื่อง จาก นพ.ชาลี วชิรศรีสุนทรา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลาดกระบังฯ เพื่อแจกจ่ายแก่โรงพยาบาลในสังกัดฯ นำไปใช้ในการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ในพื้นที่น้ำท่วมขังเพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ในการเข้าปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จากข่าวที่มีตามหน้าหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์วิทยุ ต่างๆ จากสถานการณ์การเสียชีวิตจากการถูกไฟฟ้าดูดในช่วงน้ำท่วม ส่วนใหญ่ที่ทราบข่าวจะเป็นการเสียชีวิตอยู่ภายในบ้านที่พักอาศัย หรือกรณีเดินทางออกจากบ้านลุยน้ำไปซื้อของ พื้นที่เกิดเหตุไฟดูด ไฟชอร์ตมากที่สุด คือ จ.นนทบุรี จ.ปทุมธานี จ.กรุงเทพฯ และ จ.พระนครศรีอยุธยา ถือว่าเป็นจำนวนมากติดอันดับต้นๆ ของโลก จึงต้องทบทวนบทเรียนที่เกิดขึ้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นมากไปกว่านี้ |
|||||
นพ.ชาลี วชิรศรีสุนทรา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลาดกระบังกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ทางโรงพยาบาลลาดกระบังฯ นั้นอยู่ในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม และได้ดำเนินการกั้นแนวกระสอบทรายรอบบริเวณรั้ว และตั้งเครื่องสูบน้ำชนิดมอเตอร์ไฟฟ้า ทำการสูบน้ำออกทุกเช้าโดยเจ้าหน้าที่ช่าง ซึ่งต้องลุยน้ำเข้าไปตรวจสอบ เปิด-ปิด และปฏิบัติงานอยู่รอบๆ เครื่องสูบน้ำไฟฟ้า ซึ่งไม่แน่ใจว่ามีไฟฟ้ารั่วหรือไม่ จึงได้แนะนำให้หน่วยซ่อมบำรุงคิดว่าวิธีป้องกันและตรวจสอบไฟรั่ว เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน หน่วยซ่อมบำรุง โรงพยาบาลลาดกระบังฯ ประกอบด้วย นายธีรพันธุ์ สุวรรณยอด นายอาธิ บุญช่วย นายกรานต์ชัย ไชยอาสา นายกิตติพงศ์ สุดเลิศ และนายสุรเชษฐ์ จักขุจันทร ได้ระดมความคิดและก็ได้เจ้าอุปกรณ์ตรวจวัดกระแสไฟฟ้ารั่วในน้ำ “Flood Water Electric Shock Warning” เพื่อที่จะตรวจสอบกระแสไฟฟ้ารั่วในเบื้องต้นก่อนที่จะเข้าปฏิบัติงาน โดยมีแนวคิดให้ร่างกายผู้ตรวจสอบต้องไม่มีส่วนใดๆสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าที่ผ่านอุปกรณ์ ทั้งนี้หน่วยซ่อมบำรุงใช้หลักการเหนี่ยวนำความถี่ไฟฟ้าซึ่งประเทศไทยใช้ความถี่ 50Hz และปรับความไวการตรวจจับไว้ที่ประมาณ 20-30 โวลต์ อุปกรณ์ตรวจจับได้ที่ระยะทางไกลประมาณ 5-6 เมตรจากปลายวัด(สามารถปรับความไวได้ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำและการนำไฟฟ้าของน้ำโดยน้ำสกปรกจะนำไฟฟ้าได้ดีกว่าน้ำสะอาด) และใช้หลอดไฟ LED สีเขียว(ปลอดภัย) สีแดง(อันตราย) และสัญญาณเสียงบัซเซอร์ ในการเตือนอย่างชัดเจน ทั้งนี้ออกแบบให้วงจรง่ายและใช้งบประมาณน้อยที่สุด โดยหลังน้ำลดอุปกรณ์นี้ยังต้องสามารถนำไปใช้งานอื่นๆได้ด้วย เช่นวัดอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆในที่เข้าถึงยากหรือใช้ไขควงเช็คไฟแล้วมองไม่เห็นแสง ตรวจสอบไฟรั่วในจุดที่ตั้งเครื่องสูบน้ำ น้ำพุ เพื่อความปลอดภัยผู้ใช้บริการ
|
|||||
ผู้ประสบอุทกภัยสามารถรับยากันน้ำกัดเท้าได้ “ฟรี” ที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่หรือโรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์ ทั้ง 8 แห่ง โดยท่านสามารถติดตามกำหนดการออกหน่วยแพทย์/โรงพยาบาลเคลื่อนที่ได้ที่ www.msdbangkok.go.th หรือศูนย์เอราวัณ โทร.1646 |
|||||